การดำเนินงานตามแนวทาง TCFD

ความตระหนักในผลกระทบของความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินความสมดุล นำมาซึ่งความเสี่ยงร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหา บริษัทฯ จึงนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative: SBTi) มาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางการเงิน วางเป็นกลยุทธ์เพื่อพร้อมรับมือต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนฟรุตปริ้นท์ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่สอดคล้องกับฉากทัศน์ (Scenario Analysis) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศา อีกทั้งยกระดับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศตามมาตรฐาน TCFD (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures) พร้อมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อคอยตรวจสอบและจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบ ให้เป็นไปตามแนวทางและนโยบายของบริษัทฯ

1. โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมการบริษัทฯ

กำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทฯ กำหนด

คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน

ติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การใช้พลังงานภายในองค์กร เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก แผนลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น และรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

กำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยง นโยบาย กรอบการทำงาน ฯลฯ พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านความเสี่ยงให้แต่ละฝ่าย

คณะกรรมการบริหาร

รับผิดชอบในการจัดทำรายงานและนำเสนอต่อฝ่ายบริหารเพื่ออัพเดทความคืบหน้าการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ฝ่ายความยั่งยืน

กำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำแผนงานที่เหมาะสม ให้กับคณะทำงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด

คณะทำงาน

รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของบริษัทฯ

2. การบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสทางการเงิน

บริษัทฯ นำการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงรวมขององค์กร โดยพิจารณาความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) ออกแบบขั้นตอนการพิจารณาความเสี่ยงโดยรวมขององค์กรที่เหมาะสม ได้แก่ การระบุ การประเมิน และการจัดการผลกระทบที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า พนักงาน และธุรกิจ ซึ่งถูกพิจารณาพร้อมกับดำเนินการเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันเหตุการณ์และแนวโน้มของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาประเภทของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านกฎหมาย ความเสี่ยงด้านการเงิน และกรอบเวลา (ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว) ติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ โดยใช้ ตัวชี้วัด (KPI) เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ระบุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ของแผนการจัดการความเสี่ยง

ขั้นตอนการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  1. การระบุความเสี่ยง: ทุกแผนกมีส่วนร่วมในการระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ทั้งความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) โดยมีฝ่ายความยั่งยืนดูแลกระบวนการ รวบรวมความเสี่ยง และติดตามผล
  2. การประเมินความเสี่ยง: พิจารณาลำดับความสำคัญตามความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสการเกิด โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง และระดับวิกฤต
  3. การจัดการความเสี่ยง: จัดให้มีมาตรการปรับตัวและวางแผนรับมือความเสี่ยงที่ยืดหยุ่น ขึ้นกับความเหมาะสมและสถานการณ์

ในปี 2566 บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการต้นแบบการบริหารจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับ SET และ ERM เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการปรับตัว วางแผนรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม พัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลก เพื่อคงเสถียรภาพและความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ สรุปเป็นผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสได้ ดังนี้

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบต่อองค์กร การประเมิน กรอบเวลา แผนการจัดการความเสี่ยง ตัวชี้วัด (KRI)
ระดับโอกาส ระดับผลกระทบ

ความเสี่ยงทางกายภาพ
(Physical Risks)

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติแบบเฉียบพลัน
  1. เกิดความเสียหายต่อบุคคล และทรัพย์สินขององค์กร
  2. การให้บริการลูกค้าผ่านสาขาหยุดชะงัก
  3. ส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกค้า
5 1 ระยะสั้น - ระยะยาว
  1. จัดงบประมาณสำรองใช้บรรเทาความเสียหาย
  2. พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นให้ลูกค้าสามารถรับบริการได้บนมือถือ
  3. กำหนดเงื่อนไขในการเลือกที่ตั้งของสาขาให้มีความปลอดภัย และได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้อย
มูลค่าความเสียหาย ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน 3 2 ระยะยาว มูลค่าความเสียหาย ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน
(Transition Risks)
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อม
  1. เพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
  2. ลูกค้าไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามกฎระเบียบใหม่
2 3 ระยะสั้น - ระยะยาว
  1. สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้กับบุคลากรภายในองค์กร ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น วารสาร และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากกฎหมายข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  1. เกิดค่าใช้จ่ายในการนำพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในองค์กร
1 3 ระยะกลาง - ระยะยาว
  1. เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง-ถ่านหิน
ค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานทดแทน ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  1. การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL)
5 2 ระยะสั้น - ระยะยาว
  1. ปรับเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกค้า
NPL ไม่เกิน 5%
ความเสี่ยงจากการไม่บรรลุเป้าหมาย Net Zero Company
  1. ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย
3 3 ระยะยาว
  1. ติดตามแนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  2. กำหนดเพดาการเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรบางประเภท
  3. รณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ ภายในองค์กร
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 10%
ประเด็นโอกาส อธิบายโอกาส ผลกระทบต่อองค์กร กรอบเวลา มาตรการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบ (ปัจจุบัน – 5 ปีข้างหน้า)
โอกาส (Opportunity)
(Transition Risks)
ผลิตภัณฑ์/บริการ การปล่อยสินเชื่อในผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น Low-carbon Products เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  1. ขยายฐานข้อมูลลูกค้าและเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น Low-carbon Products
  2. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด
ระยะสั้น - ระยะยาว
  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการใหม่ๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น กระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
แหล่งพลังงาน การเพิ่มขึ้นของแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้า น้ำ
  1. ลดต้นทุนการดำเนินงานผ่านกลยุทธ์และการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในองค์กร
  2. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
ระยะกลาง - ระยะยาว
  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น สินเชื่อสำหรับพลังงานสะอาด โซลาร์เซลล์

3. ผลกระทบทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศผ่านการวิเคราะห์ฉากทัศน์

การดำเนินธุรกิจในสภาวะที่สภาพภูมิอากาศมีความไม่แน่นอน เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยความเชื่อมโยงกับสถานการณ์โลกและแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศผ่านฉากทัศน์ (Climate-related Scenario Analysis) จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่เหมาะสม ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

ผลกระทบทางการเงิน
(ล้านบาท)
ประเด็นความเสี่ยง ความเสี่ยง สถานการณ์จำลอง สมมติฐาน 2573 2583 2593

ความเสี่ยงทางกายภาพ
(Physical Risks)

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติแบบเฉียบพลัน น้ำท่วม สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์หลังปี 2050 (SSP1-2.6) % การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมสูงสุด 5 วัน = % ผลกระทบหนี้เสียจากภัยพิบัติ 3,587 3,628 3,669
การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจุบันภายในปี 2050
(SSP5-8.5)
% การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมสูงสุด 5 วัน = % ผลกระทบหนี้เสียจากภัยพิบัติ 3,658 3,726 3,793

ความเสี่ยงด้านกฎหมายและนโยบาย
(Transition Risks)

ความเสี่ยงด้านกฎหมายและนโยบาย ภาษีคาร์บอน Stated Policies Scenario (STEPS) ประเทศไทยดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอนในอีก 17 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2583) สำหรับทุกภาคส่วนตามโครงสร้างภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์ - 198.7 445.1
Net-Zero Emission Scenario (NZE) ประเทศไทยดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอนในอีก 7 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2573) สำหรับทุกภาคส่วนตามโครงสร้างภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์ 78.9 238.5 498.5