ผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นด้านความยั่งยืน

MTC Value Chain

การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มุ่งให้บริการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดผู้มีส่วนได้เสียโดยพิจารณาจากห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งประกอบด้วย 5 กระบวนการหลัก ได้แก่

1. การบริหารแหล่งเงินทุน มีนโยบายการสรรหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากหลายสถาบันทางการเงินให้เพียงพอต่อการเติบโตของธุรกิจ

2. กระบวนการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ มีการพิจารณาสินเชื่อผ่านวิธีการประเมินสินเชื่อแบบอ้างอิงตามสภาพทรัพย์สินแทนการใช้ข้อมูลทางด้านรายได้หรือเครดิตบูโรของลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้

3. การจัดการบริหารลูกค้า มีนโยบายด้านการพัฒนาประสบการณ์ ด้วยการให้บริการที่เป็นเลิศ การพัฒนา Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงนโยบายการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

4. การติดตามและจัดเก็บหนี้ มีนโยบายด้านการพัฒนาจริยธรรมของอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดอบรมขั้นตอนการติดตามและจัดเก็บหนี้ที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดทำโครงการคลินิกแก้หนี้ และโครงการฟ้าส้มของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้ลูกค้ามีสภาพคล่องทางการเงินและลดปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้น

5. การขยายพอร์ตสินเชื่อ โดยมีกระบวนการรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มฐานลูกค้าใหม่จากการขยายการเข้าถึงของลูกค้าด้วยการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศรวมถึงการยกฐานะสาขาให้สามารถรองรับและบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียส่งผลให้บริษัทฯ ทราบถึงความคาดหวัง ความต้องการ ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริษัทฯ สามารถกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งสู่การขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนทราบถึงผลกระทบที่บริษัทมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังนี้

1. การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Identification) จะพิจารณาถึงบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่สามารถสร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะการมีส่วนร่วมต่างๆ เช่น การพึ่งพาอาศัย (Dependency) ความรับผิดชอบ (Responsibility) อิทธิพล (Influence) โดยบริษัทฯ แบ่งผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญออกเป็น 7 กลุ่ม

2. การจัดลำดับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Prioritization) บริษัทฯ จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้แนวทางการพิจารณาความมีอิทธิพลและความสนใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ (Influence and Interest) ระบุลงในแผนผังของการจัดลำดับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder matrix) ได้ดังนี้

โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้า กลุ่มผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้ และ กลุ่มพนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

3. การวางแผนและดำเนินการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Planning and Implementation) บริษัทฯ กำหนดแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อตอบสนองความคาดหวังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังตารางด้างล่างดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการมีส่วนร่วม ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย

ลูกค้า

-

MTC Call Center 1455

-

Walk-in สาขา

-

Facebook

-

Line-Official

-

ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์
02-4838888

-

แอพลิเคชัน “เมืองไทย 4.0”

-

แบบประเมินความพึงพอใจลูกค้า

-

ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็ว

-

วงเงินที่ได้รับอนุมัติเหมาะสม

-

มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว

-

ปรับลดอัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

-

การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

-

คำนึงถึง ESG ตลอดกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ

-

ขยายสาขาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการให้บริการ

-

สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าด้วยบริการที่เป็นเลิศ ทั่วถึง และเท่าเทียม

-

ปรับลดอัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

-

เคารพต่อความพึงพอใจ สิทธิ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ผู้ถือหุ้น / นักลงทุน / เจ้าหนี้

-

การประชุมผู้ถือหุ้น (ปีละ 1 ครั้ง)

-

สื่อสารผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ (เป็นประจำ)

-

Opportunity Day (3 เดือน/ครั้ง)

-

ผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

-

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

-

เป็นองค์กรที่มีความมั่นคง โปร่งใส และเติบโตอย่างยั่งยืน

-

ทบทวนและปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับสภาวการณ์

-

มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

-

บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

พนักงาน ผู้บริหารและคณะกรรมการ

-

การจัดประชุม (ทุกเดือน)

-

เว็บไซต์บริษัทฯ

-

ประกาศ/คำสั่ง

-

แบบสอบถามความพึงพอใจพนักงาน

-

ระบบข้อร้องเรียน

-

MTC Forum

-

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

-

ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม

-

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน

-

มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล

-

ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน

-

สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

-

ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน

-

การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

คู่ค้า

-

อีเมล (เป็นประจำ)

-

เข้าเยี่ยมชม (เฉพาะคู่ค้ารายใหม่ ปีละ 1 ครั้ง)

-

แบบประเมินคู่ค้าประจำปี

-

มีความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด

-

ความต่อเนื่องของการดำเนินการ

-

เกณฑ์การประเมินและคัดเลือกที่ได้มาตรฐาน

-

บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ ESG

-

กำหนดระยะเวลาชำระเงินแก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม

คู่แข่งทางธุรกิจ

-

ประชุมสมาคมการค้าผู้ประกอบสินเชื่อทะเบียนรถ

-

ประชุมชมรมผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล

-

แข่งขันอย่างเป็นธรรม

-

การยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน

-

การให้ความร่วมมือกับสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถ/ส่วนบุคคลในการปฏิบัติตามเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับ

-

ให้ความร่วมมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบสินเชื่อทะเบียนรถ เพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน

ชุมชนและสังคม

-

การดำเนินงานด้านสังคม

-

แสดงความรับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน

-

พิจารณาผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

-

ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

-

สร้าง Engagement ระหว่างบริษัทฯ กับชุมชน ผ่านโครงการ CSR

-

ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานกำกับ (ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค/นโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ)

-

อีเมล (เป็นประจำ)

-

การประชุมผ่านสมาคมการค้า/ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ/ส่วนบุคคล

-

เข้าเยี่ยมชมบริษัทฯ (2 ปี/ครั้ง)

-

สนับสนุนนโยบายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม

-

การบริหารจัดการที่โปร่งใส

-

ปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับที่กำหนด

-

ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับอยู่เสมอ

การกำหนดประเด็นความยั่งยืน

ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. การศึกษา ทบทวนและระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง (Identification) ได้แก่ ทบทวนประเด็นด้านความยั่งยืนที่ในปี 2565 เทียบเคียงประเด็นความยั่งยืนระดับสากล พิจารณาประเด็นที่กระทบผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน เเละนำประเด็นมาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

  2. จัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน (Prioritization) วิเคราะห์และพิจารณาข้อมูลจากการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

  3. การทวนสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของประเด็นด้านความยั่งยืน (Validation) สรุปการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนให้กับผู้บริหารระดับสูงพิจารณาความถูกต้องของประเด็นความยั่งยืน เพื่อรับทราบและให้ข้อคิดเห็น นำประเด็นความยั่งยืนไปเปิดเผย

  4. การพัฒนาคุณภาพของการรายงาน (Review) ทบทวนกระบวนการและข้อมูลสำคัญด้านความยั่งยืนหลังจากเผยแพร่รายงานฉบับนี้ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน เพื่อรับฟังความคิดเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงรายงานฉบับต่อไป

การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน

ประเด็นในมิติกำกับดูแลกิจการ

1.

ความเข้าใจการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนของบุคลากรในองค์กร

2.

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

3.

การบริหารจัดการความเสี่ยง

4.

การตอบสนองความคาดหวังผู้มีส่วนได้เสีย

5.

การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น

9.

พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล

12.

จัดหาแหล่งเงินทุน

19.

การบริหารจัดการคู่ค้า

20.

การรักษาข้อมูลและความปลอดภัย ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเด็นในมิติสังคม

6.

การจัดการทรัพยากรบุคลล

7.

การพัฒนาชุมชนและสังคม

10.

ความพึงพอใจของพนักงาน

11.

ความพึงพอใจลูกค้า

14.

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

15.

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

16.

การเปิดเผยข้อมูล

17.

สิทธิมนุษยชน

18.

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประเด็นในมิติสิ่งแวดล้อม

8.

มลพิษอากาศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

13.

การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า

ความก้าวหน้าประเด็นความยั่งยืน

บริษัทกำหนดประเด็นและเป้าหมายสำคัญเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 20 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

(แต่ละประเด็น เป็นตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนของผู้บริหารสูงสุดสำหรับปี 2566)

มิติเศรษฐกิจ

1. ความเข้าใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Target

ร้อยละ 100

สร้างความเข้าใจทั่วทั้งองค์กร

Result

ร้อยละ 85

2. การกำกับดูแลกิจการที่ดี

Target

ร้อยละ 100

เปิดเผยผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส

Result

ร้อยละ 100

3. การบริหารความเสี่ยง

Target

ร้อยละ 100

ครอบคลุมทุกมิติ

Result

ร้อยละ 100

4. ตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

Target

ร้อยละ 100

ครอบคลุมทุกกลุ่ม

Result

ร้อยละ 100

5. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

Target

ร้อยละ 0

เหตุการณ์ทุจริตคอร์รัปชัน

Result

ร้อยละ 0

9. พัฒนาผลการดำเนินงาน ESG สู่ระดับสากล

Target

ร้อยละ 60

ทุกด้านรวมกัน

Result

ร้อยละ 76

12. จัดหาแหล่งเงินทุน

Target

ร้อยละ 100

ไม่ส่งผลต่อสภาพคล่อง

Result

ร้อยละ 100

19. การบริหารจัดการคู่ค้า

Target

ร้อยละ 100

คู่ค้ารายสำคัญได้รับการประเมินความเสี่ยง

Result

ร้อยละ 100

20. การรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ

Target

0 เหตุการณ์

เหตุการณ์ละเมิดความปลอดภัยสารสนเทศ

Result

0 เหตุการณ์

มิติสังคม

6. การจัดการทรัพยากรบุคคล

Target

ร้อยละ 16

อัตราการพ้นสภาพของพนักงาน

Result

ร้อยละ 12

7. การพัฒนาชุมชนและสังคม

Target

60,000 ราย

ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ

Result

กว่า 68,460 ราย

10. ความพึงพอใจของพนักงาน

Target

ร้อยละ 80

การประเมินความพึงพอใจ

Result

ร้อยละ 84.68

11. ความพึงพอใจของลูกค้า

Target

ร้อยละ 80

พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า

Result

ร้อยละ 80.59

14. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

Target

6 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงอบรมต่อคน

Result

11 ชั่วโมง

15. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

Target

ร้อยละ 100

พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า

Result

ร้อยละ 80

16. การเปิดเผยข้อมูล

Target

ร้อยละ 100

เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานสากล

Result

ร้อยละ 100

17. สิทธิมนุษยชน

Target

0 เหตุการณ์

ไม่เกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิ

Result

0 เหตุการณ์

18. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Target

0 เหตุการณ์

อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน

Result

30 เหตุการณ์

มิติสิ่งแวดล้อม

8. ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Target

ลดลงร้อยละ 10

*เทียบยอดสินเชื่อ

Result

เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.23

13. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Target

เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบยอดสินเชื่อ

Result

ลดลงร้อยละ 4.71

ตารางประเด็นความยั่งยืน

ประเด็นด้านความยั่งยืน ผู้มีส่วนได้เสีย เนื้อหาภายในเล่มรายงาน ผลกระทบ SDGs

1. ความเข้าใจในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

- การดำเนินงานภายในองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2. การกำกับดูแลกิจการที่ดี

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/หน่วยงานกำกับ

กระบวนการกำกับดูแลกิจการ

- ความสามารถในการแข่งขัน และการปรับตัวภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

3. การบริหารจัดการความเสี่ยง

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/หน่วยงานกำกับ

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

- ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมาย มีแผนการจัดการและลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต

4. การตอบสนองความคาดหวังผู้มีส่วนได้เสีย

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/หน่วยงานกำกับ

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

- ทราบถึงความคาดหวัง กังวล และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้สามารถกำหนดประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

5. การต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/หน่วยงานกำกับ

การต่อต้านทุจริต คอร์รัปชัน

- ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

6. การจัดการทรัพยากรบุคคล

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

การบริหารทรัพยากรบุคคล

- สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การพัฒนาชุมชนและสังคม

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/หน่วยงานกำกับ

การดำเนินงานด้านสังคม

- สร้างคุณค่าร่วมกันกับสังคม

- ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจ

8. มลพิษทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นักลงทุน/หน่วยงานกำกับ/เจ้าหนี้/ชุมชนและสังคม

มิติสิ่งแวดล้อม

- สามารถกำหนดกลยุทธ์ แผนการจัดการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

9. พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/คู่ค้า

นโยบายและกรอบกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

- พัฒนากระบวนการดำเนินงานสู่ความยั่งยืน

10. ความพึงพอใจของพนักงาน

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

ความพึงพอใจของพนักงานใน MTC

- ปรับปรุงการกำหนดค่าตอบแทน สวัสดิการ รวมถึงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของพนักงานได้อย่างเหมาะสม

11. ความพึงพอใจของลูกค้า

ลูกค้า

ความพึงพอใจของลูกค้าใน MTC

- ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

12. การจัดหาแหล่งเงินทุน

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/หน่วยงานกำกับ

นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย

- ลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินของ บริษัทฯ

13. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/คู่ค้า/ชุมชนและสังคม

นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

- ลดการใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทฯ

14. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

การอบรมและพัฒนาบุคลากร

- เพิ่มศักยภาพบุคลากรภายในองค์กร

- ยกระดับศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ

15. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/คู่แข่งทางธุรกิจ/หน่วยงานกำกับ

นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

- ขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่การเติบโต รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

16. การเปิดเผยข้อมูล

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/หน่วยงานกำกับ

การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

- ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

17. สิทธิมนุษยชน

ลูกค้า/พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร

- ลดการเกิดประเด็นความขัดแย้งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการดำเนินธุรกิจ

18. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/คู่ค้า

การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

- เกิดความปลอดภัยในการทำงานตลอดกระบวนการดำเนินงาน

19. การบริหารจัดการคู่ค้า

คู่ค้า

การบริหารจัดการคู่ค้า

- เกิดความต่อเนื่อง ป้องกันการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจขององค์กร

- ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า

20. การรักษาข้อมูลและความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ลูกค้า/คู่ค้า/หน่วยงานกำกับ

การรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

- ข้อมูลส่วนบุคคลมีการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย